วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล จี้ยุบองค์กรอิสระผลพวงจากรธน.ปี50

กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล จี้ยุบองค์กรอิสระผลพวงจากรธน.ปี50
อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ชี้ จำเป็นต้องยุบ กสม.และองค์กรอิสระที่มาจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ชี้เป็นต้นเหตุทำให้เกิดปัญหาต่อประเทศ เนื่องจากถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายที่กระทำผิด ...
วันที่ 11 ส.ค.กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล นำโดยนางสาวสุดา รังกุพันธ์ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายไม้หนึ่ง ก.กุนที จัดเสวนาบาทวิถีในหัวข้อ "ยุบเลิกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนที่มาจาก คมช." โดยมีนายจรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน เป็นวิทยากร
โดยนายจรัล กล่าวว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน มาจากรัฐธรรมมนูญปี 2550 ที่มาจากคณะรัฐประหาร ซึ่งใช้วิธีการสรรหาจากรัฐสภา ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และคณะกรรมการสิทธิฯ ส่วนใหญ่ที่ถูกรับเลือกเข้ามามีจุดยืนที่คัดค้านต่อต้านรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีจุดยืนเข้าข้างกลุ่มพันธมิตร และรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ทั้งนี้จะเห็นได้จากที่การชุมนุมของคนเสื้อแดงตั้งแต่เดือนเมษายน-พฤษภาคม ปี 2553 ที่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก แต่คณะกรรมการสิทธิฯ กลับเขียนรายงานเข้าข้างเจ้าหน้าที่รัฐ และรัฐบาลว่าใช้อำนาจเป็นไปในทางที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่กลับเขียนรายงานว่าร้ายผู้ชุมนุมว่า การที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำการ เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมมีการปลุกปั่นยั่วยุ หน้ำซ้ำอ้างว่ามีชายชุดดำเป็นผู้กระทำ ซึ่งการเขียนรายงานดังกล่าวส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามนำไปอ้างความชอบธรรมให้แก่ตัวเอง ทั้งที่ในความเป็นจริงประชาชนถูกปราบปรามเกินกว่าเหตุ


อดีตคณะกรรมสิทธิมนุษยชน กล่าวด้วยว่า ไม่ใช่เพียงแค่คณะกรรมการสิทธิฯเท่านั้นที่สมควรจะให้มีการยกเลิก แต่ยังรวมไปถึงองค์กรอิสระต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญ 2550 เนื่องจากส่วนใหญ่มีพฤติการณ์เหมือนเข้าข้างฝ่ายที่กระทำผิด พร้อมจะเล่นงานและจัดการรัฐบาลฝ่ายตรงข้ามที่มาจากการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง และพร้อมจะขยายอำนาจไปในทางที่ผิด ดังนั้น หากองค์กรอิสระเหล่านี้ยังคงอยู่ก็จะยิ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อหลักต่างๆ ของบ้านเมือง รวมไปถึงยังไม่เป็นประโยชน์ต่อการปกครอง การบริหาร เพราะจะถูกนำไปเป็นเครื่องมือของฝ่ายที่ไม่ถูกต้อง

นอกจากนี้ นายจรัล ยังกล่าวอีกว่า ปัญหาสำคัญในการยุบองค์กรอิสระต่างๆ เป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจาก องค์กรอิสระเหล่านี้มาจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งวิธีที่จะทำได้คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำเป็นที่ประชาช
นทุกคนจะต้องต่อสู้ต่อไปเพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง.

11.45(วันที่ 14 สิงหาคม 2556) กลุ่มเสื้อแดง หน้าสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) พร้อมเรียกร้องให้คณะกรรมการ กสม. ทบทวนตัวเองด้วยการลาออก กรณีรายงานข้อเท็จจริงการชุมนุมของนปช.ปี53 ชี้บิดเบือนข้อเท็จจริงอุ้มรัฐบาล “อภิสิทธิ์” ประชด แนบใบลาออกพร้อมใบสมัครสมาชิกพรรคปชป.มาให้ด้วย

"ธิดา"โวย "กสม." แย่กว่า"คอป."อีก


ข่าวสด 10 สิงหาคม 2556
อ.ธิดา ถาวรเศรษฐ ประธานนปช. กล่าวว่าเหมือนรับฟังพยานจากฝั่งรัฐบาลในขณะนั้นเพียงข้างเดียว ไม่มีเนื้อหาของผู้ที่ถูกกระทำเลย อาทิ กรณี 6 ศพวัดปทุมฯ มีรายละเอียดที่เป็นเท็จโดยสิ้นเชิง เขียนใกล้เคียงกับคำให้สัมภาษณ์ของนายอภิสิทธิ์ นายกฯ ในขณะนั้น ที่ระบุว่ามีการปะทะกันระหว่างกองกำลังติดอาวุธกับเจ้าหน้าที่รัฐ การเขียนรายงานออกมาในลักษณะนี้อันตรายมาก เลือกข้างชัดเจน หยาบและชุ่ยที่สุด ประหนึ่งว่านปช.เป็นกองกำลังติดอาวุธขนาดใหญ่ ทั้งที่กลุ่มผู้ชุมนุมเพียงแค่ยิงพลุและตะไล ทั้งยังกล่าวหาว่าใช้แสงเลเซอร์ชี้เป้าก่อนฆาตกรรม พ.อ.ร่มเกล้า ธุวธรรม และส.ท.ภูริวัฒน์ ประ พันธ์ โดยที่การไต่สวนกรณีนี้ไม่ระบุถึงการใช้เลเซอร์ชี้เป้าแต่อย่างใด

ประธานนปช.กล่าวต่อว่า แม้รายงานฉบับนี้ จะมีบางส่วนคล้ายกับรายงานของคณะกรรม การอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) แต่มีบางส่วนที่ออกมาหนักและแย่กว่าคอป.อีก อีกทั้งเหตุใดเมื่อการประกาศทั้งพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ควบคุมผู้ชุมนุม ของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ถึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องชอบธรรม แตกต่างจากการประกาศพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ของรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ถูกตั้งคำถามจากกรรมการสิทธิฯ

Amara Pongsapich is incompetent and unethical

Amara Pongsapich is incompetent and unethical. She should resign as chairwoman of Thailand's National Human Rights Commission.



  • Aoi Thompson not just resign from the chairwoman position, I believe she should resign from being human altogether. Unbelievable inhuman 
    4 hours ago · Like · 7
  • อนุพิทักษ์ ศรีกิจสุวรรณ Thailand have different standard from another country. That make me sad.
  • อนุพิทักษ์ ศรีกิจสุวรรณ Another country see this one is a black colour. But In Thailand see this one is a grey colour. Not white or black colour. And Let's it OK to do.
  • Ken Dangnui All that she said (in the above vdo clip) were I'm not so sure....., .....someone said that,...I can't confirm...., I don't remember but that's sound like it.... etc. Question is, how could she be a chair person who release a report in which affecting so many things.
    4 hours ago · Like · 1
  • Unter Redest Amara Pongsapich is incompetent and unethical. She should resign as chairwoman of Thailand's National Human Rights Commission./////Perfect description of this old crow.
    4 hours ago · Like · 2
  • Dej Anan I don't like her
    4 hours ago via mobile · Like
  • Zetarn Cab She got this position by help the military-ultraroyalist-democrat party to remove thaksin and his party from power.

    There are no such thing that call "independence organization" in thailand , every this kind of this organization already got political 
    ...See More
    3 hours ago · Edited · Like · 2
  • TP Phong This report could be used as a wildcard in Abhisit's future court case.
    3 hours ago via mobile · Like · 1
  • Jarouk Jansom Imcompetent & unethical? Me? Resign? Look around ... many other 'independent organizations' in Thailand are chaired by similar people; some are worse than me!
  • Vee Intarakratug Instead, she's the role model of Syria and Egypt's NHRC!!
    2 hours ago · Like · 1
  • Panya Sukkasame อ๋อ ยาย ตน นี้ ชื่อ ยาย อม รา จำได้แล้ว อันนี้แหละที่เรียกว่า กรรมมะพันธุ กรรมอันเป็นเผ่าพันธ์ ก็ยาย อม รา แกผสมประสานกันมาแต่หนหลัง ฉนั้น ปชป ทำอะไร คิดอะไร ยาย อม รา ก็ยอ่มคิดอย่างเดียวกัน
  • TaMan Thanawat ไม่ใช่แค่ลาออกจากตำแหน่ง แต่ควร"ลาออกจากความเป็นมนุษย์"ด้วย

วันอาทิตย์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Thailand's Bogus Human Rights Report

Written by Pavin Chachavalpongpun   
SUNDAY, 11 AUGUST 2013
A report on the tragic events of 2010 whitewashes the role of the military
At long last, a report has been released that was compiled by Thailand's ill-fated Human Rights Commission, headed by academic-turned-Democrat supporter Amara Pongsapich. To no one's surprise, the report is far from being a fair assessment of the tragic incident in which the state security agencies launched brutal crackdowns on Red-Shirt protesters of the United Front for Democracy against Dictatorship in May 2010.

After taking more than three years, the commission, as it appears in the report, creates its own myth about the crackdowns to justify the military's use of force against protesters. It is evident that Amara and her team attempted and failed badly to explain away the wrongdoings of the security forces.

Some of the commission's explanations of the tragic incident are beyond belief. In a televised broadcast last week in Bangkok, Amara claimed that the Red-Shirt protesters indeed provoked the government; and possibly that they deserved to be retaliated against in such a way.

Amara accused the Red-Shirt protesters of using hand-made weapons to fight with the government, exploiting women and children as their own shield. Thus, again, they deserved to be retaliated by the state. She continued to condemn the protesters for violating the state of emergency. Even when Amara confessed that she disagreed with the state of emergency, her commission did not come out to boycott it because, in her own words, "I was still confused at the time."

In this report, the commission confirms that there existed "men in black", those supposedly hiding themselves among the Red Shirts and responsible for the killings of the protesters. Amara affirmed that in the commission's interviews with 184 witnesses, they said that they saw armed "men in black". This information strongly contradicts the verdict of a Thai Court which recently denied their existence.

In her defense of the military and the government of former Prime Minister Abhisit Vejjajiva, Amara said that it was not possible that the state security forces would initiate the violence. "They only acted in defense," Amara stressed.

In the case of the death of six volunteers who worked within the no-fire zone inside Pathumwanaram Temple, Amara said that there were many rumors about the incident. Possibly, the six were killed outside the temple but were dragged inside to muddy the situation. Again, her information contradicts other recent testimony by the Department of Special Investigation which verifies that the six were all killed inside the temple and the shootings came from the direction of the sky train where snipers were stationing.

And shockingly, Amara rewrote the details of the arson attack against Central World, a Bangkok department store. She said that it was likely that after the crackdowns, some of the Red shirt members may have quarreled with the store's security guards. Driven by their anger, the Red Shirt members supposedly burned down the whole building. Yet, nobody has been able to identify these res shirt arsonists.


รายงานฉบับนี้ของ กสม. ไม่น่าเชื่อถือ

รายงานฉบับนี้ของ กสม. ไม่น่าเชื่อถือ เพราะเป็นไปตามสิ่งที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์พูด กสม.ปกป้องรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ โดยไม่หาพยานหลักฐานเพิ่ม แม้แต่รายงานของคณะกรรม การอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ก็ยังมีเรื่องที่สรุปไม่ได้ แต่รายงานของกสม.เข้าข้างฝ่ายหนึ่งชัดเจนเกินไป ล่าสุดที่นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธาน กสม. ให้สัมภาษณ์สื่อสำนักหนึ่งเกี่ยวกับรายงานฉบับนี้เห็นได้ชัดว่านางอมราแทบไม่รู้ข้อมูลอะไรเลย มีหลายคำถามที่ตอบไม่ได้ แสดงว่าไม่ได้ทำงานอะไรเลย ดังนั้นข้อเสนอต่อการปรับบทบาทหน้าที่ของ กสม. คือต้องยึดโยงกับประชาชนมากกว่านี้ ไม่ใช่ยึดโยงกับกลุ่มอำนาจที่มาจากการรัฐประหาร

น.ส.เวียงรัฐ เนติโพธิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNakV4TURnMU5nPT0%3D&sectionid=TURNd01RPT0%3D&day=TWpBeE15MHdPQzB4TVE9PQ%3D%3D

วันเสาร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ความรู้สึกชิงชังต่อ นางอมรา มีมากจริงๆ ..

ความรู้สึกชิงชังต่อ นางอมรา มีมากจริงๆ ...ที่งานชุมนุมแดงลาดกระบังคืนนี้ พี่น้องหลายคนโกรธแค้นเธอมาก

สำหรับดิฉัน กลับมองว่า กก.สิทธิฯ ทุกคนต้องร่วมรับผิดชอบ ไม่เว้นแม้แต่นายนิรันดร์ ที่ภาพดี ในหมู่นักวิชาการสายประชาธิปไตย

และไม่ต่างจาก กรณี ตลก ศาลรธน. ที่ คนรุมอัดไปที่ นายวสันต์ คนเดียว แต่คนภาพดีอย่างนายจรัญ ยังไม่ถูกขุดคุ้ยมากพอ 

แต่ก็เข้าใจในธรรมชาติของการรับรู้และการรื้อถอนต้นไม้พิษที่เลวร้ายพวกนี้ ...บางทีก็ต้องตัดที่ยอด และที่สุดก็คือการ ขุดทั้งราก ถอนทั้งโคน ขึ้นมา

พรุ่งนี้...มาช่วยกันชำแหละ
"คณะกรรมการสิทธิ อ-มนุษยชน แห่งชาติ" ด้วยกัน ที่หน้าศาลอาญา รัชดา

ปฏิญญาหน้าศาล อาทิตย์ 11 สค 56

Suda Rangkupanนี่ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายของประชาชนที่ต้องไปประณามการทำงานห่วยแตกอีก ปท สูญเงินกับคนพวกนี้ กว่า 200 ล้าน โดยไม่เกิดผลผลิต...ยุบ เลิก !!
Suda Rangkupan
คณะกรรมการสิทธิชุดนี้ มีที่มาเดียวกันกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
ม.206 ให้มีคณะกรรมการสรรหา...ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรและประธานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญซึ่งเลือกกันเองให้เหลือหนึ่งคน


แดง นิติราษฐ์ 
สวัสดีวันอาทิตย์สีแดงครับ อ.หวาน หญิงแกร่งขวัญใจคนเสื้อแดงครับ...กสม.ที่มีนาง..อม.เป็นประธานนี่ มันไม่เคยให้ความสำคัญใดๆกับฝ่ายคนเสท้อแดงเลยแม้แต่นิดเดียวจริงๆ จ้องที่จะหาผลักฐานเพื่อที่จะโยนความผิดให้กับฝ่านคนเสื้อแดงด้านเดียวอย่างเห็นได้อย่างชัดเจนถึงความเอนเอียงขององค์กรณ์อิสละชุดนี้ ที่คลอดออกมาจากมดลูกของคณะ .คมช.(คนมันขั่ว) เมื่อวานได้มีโอกาสดู อ.หวานที่เวทีลาดกระบัง เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะมีการยื่นถอดถอนองค์กรณ์นี้ออกจากสารระบบบ้านเมืองของเราครับ จอเป็นกำลังใจในการทำงานของ อ.หวาน พร้อมทั้งคณะทุกๆท่านครับ ขอขอบคุณ อ.หวาน และคณะทำงานทุกๆท่านอย่างสูงที่เสียสละความสุขส่วนตัว มาทำงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนด้วยความเคารพครับ

อำมาตย์ ชอบคนลักษณะนี้ ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์









วิวาทะรายงานสลายชุมนุม 53: ปธ.กรรมการสิทธิ - ศปช.


(9 ส.ค.56) เมื่อเวลา 20.00น. รายการคมชัดลึก ทางเนชั่นแชนแนล ตอน ความจริง...พฤษภาอำมหิต 2553 โดยบัญชา แข็งขัน ผู้ดำเนินรายการ เชิญ อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และ ขวัญระวี วังอุดม ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 2553 (ศปช.) และ อาจารย์สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล  ร่วมรายการ
โดยวานนี้ (8 ส.ค.) เว็บไซต์ กสม. เผยแพร่รายงาน "รายงานผลการตรวจสอบเพื่อมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย กรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ระหว่างวันที่ 12 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2553" ความยาว 92 หน้า โดยประธาน กสม. ระบุว่าได้ส่งรายงานให้คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ก.ค.ที่ผ่านมา คาดว่าอีก 1-2 อาทิตย์คงจะเข้า ครม. แต่ยังไม่ได้รับการยืนยัน
ทั้งนี้ ศปช. ก่อตั้งโดยกลุ่มนักกิจกรรมร่วมกับนักวิชาการกลุ่มสันติประชาธรรม เมื่อวันที่ 19 ก.ค.53 โดยมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูล และสัมภาษณ์พยาน ผู้ได้รับผลกระทบฯ และเผยแพร่รายงานเมื่อวันที่ 19 ส.ค.55 
000

ใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เหมาะสมหรือไม่

ช่วงแรกของรายการผู้ดำเนินรายการถามเรื่องการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ในช่วงเริ่มต้นของการชุมนุม โดยนางอมรา กล่าวว่า บทสรุปมีแนวการมองคล้าย คอป. เพราะข้อมูลที่ได้ก็ใกล้เคียงกัน ตามมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญ รับรองสิทธิการชุมนุม โดยต้องเป็นไปอย่างสงบและไม่ใช้อาวุธ จากการศึกษา ตั้งแต่ 12 มี.ค. ถึง 7 เม.ย. 53 พบว่า การชุมนุมยังไม่รุนแรงและยังไม่พบอาวุธ ยังอยู่ภายใต้ใต้รัฐธรรมนูญ แต่หลังจากนั้น เริ่มมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นเหตุให้รัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินในวันที่ 7 เม.ย. 53 และต่อมามีการใช้ความรุนแรงจนเกินขอบเขต
ด้าน น.ส.ขวัญระวี กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลอภิสิทธิ์ บอกว่าเป็นประชาธิปไตยจะต้องสนับสนุนสิทธิในการชุมนุมของประชาชน การประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ครั้งนั้น เกิดขึ้นก่อนมีการชุมนุม เช่นเดียวกับกรณีของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่เคยประกาศไปเมื่อไม่กี่วันมานี้ ในสังคมประชาธิปไตย สิทธิการชุมนุมเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน เพื่อให้คนที่รู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมใช้สิทธิเรียกร้องต่อคนมีอำนาจเหนือกว่า ซึ่งพอประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคง จึงขัดหลักนี้
ทั้งนี้ตั้งแต่ใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง มีการปิดเว็บกว่า 9,000 เว็บในช่วงหนึ่งเดือน เท่ากับศาลต้องใช้เวลาพิจารณา 300 กว่าเว็บต่อวัน ถามว่าในความเป็นจริงทำได้หรือไม่ ทั้งยังไม่มีการแถลงว่าแต่ละเว็บก่อความวุ่นวายอย่างไร นอกจากนี้ ยังมีการสั่งปิดสถานีไทยคม ทำให้ผู้ชุมนุมเคลื่อนไปชุมนุมที่นั่น จากนั้นรัฐบาลก็ออกหมายจับแกนนำ บอกให้ย้ายมวลชนจากแยกราชประสงค์ไปที่สะพานผ่านฟ้า แต่วันต่อมา ศอฉ. กลับไปสลายการชุมนุมที่ผ่านฟ้า หมายความว่าอย่างไร จะเห็นว่า การกระทำของรัฐบาลมีส่วนทำให้มวลชนโกรธเคือง โดยเฉพาะการปิดสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล ทำให้ไม่มีสื่อของเสื้อแดงที่จะสะท้อนเสียงของเขา ยิ่งกระตุ้นให้มวลชนเกิดอารมณ์
ทั้งนี้การตีความการชุมนุมโดยสงบ ไม่ควรตีความอย่างแคบๆ เช่น ก่อความวุ่นวาย หงุดหงิด เดือดร้อน เพราะการชุมนุมย่อมสร้างความเดือดร้อน แต่จะทำอย่างไรให้คนเดือดร้อน มีพื้นที่ รัฐบาลมีหน้าที่เอื้อให้เขาชุมนุมได้โดยสงบ
ต่อมา นางอมรากล่าวว่า เดือนมีนาคม เป็นจุดเริ่มต้นที่ควรดูให้ละเอียดว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดอะไรตามมา และย้ำว่าการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ไม่จำเป็นไม่ควรใช้โดยเด็ดขาด เพียงแต่ว่าตอนนั้นไม่ได้ออกมาแถลงคัดค้าน เพราะอาจจะยังงงๆ อย่างไรก็ตาม หลังรัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ในระยะแรก การชุมนุมยังสงบ หลังๆ ถึงมีกิจกรรมที่รุนแรงขึ้น เช่น  การเข้าไปในสถานที่ราชการ รัฐสภา เป็นการกระตุ้นให้รัฐบาลประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
“ไม่ได้บอกว่าการปิดพีเพิลชาแนลนั้นถูก การขัดขวางการเผยแพร่ข่าวสารเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นข้อบกพร่องของรัฐบาลแน่นอน”


000

ผู้ชุมนุมมีสิทธิเคลื่อนขบวนออกจากที่ตั้งหรือไม่

เมื่อผู้ดำเนินรายการถามว่า ผู้ชุมนุมมีสิทธิเคลื่อนออกจากที่ตั้งไหม ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติกล่าวว่า  เป็นเรื่องการวางแผนของผู้ชุมนุมและแกนนำ ถ้าเขาจะค่อยๆ รุกและเริ่มแรงกดดัน ก็เป็นการวางแผนของผู้ชุมุนม คนที่เคยทำงานมวลชนมาก็รู้ เมื่อถึงขั้นนึงไม่ได้อย่างที่ตั้งใจก็ต้องยกระดับ เพราะฉะนั้น เป็นยุทธศาสตร์การเคลื่อนมวลชน
ด้าน น.ส.ขวัญระวี กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวมีที่มาที่ไป ไม่ใช่อยู่ๆ ก็จะยกกำลังไปปิดล้อม ส่วนตัวมองว่า การเอาคนบุกไปรัฐสภาอาจสุ่มเสี่ยงเกินไป แต่ขณะนั้น มีการตัดสัญญาณพีเพิลชาแนลเป็นระยะๆ ขณะที่ในสภากำลังจะพิจารณาต่ออายุ พ.ร.บ.ความมั่นคง อย่างไรก็ตามความวุ่นวายขึ้นที่สภา ก็จบในไม่กี่ชั่วโมง ทั้งนี้ตามหลักกฎหมาย การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะให้อำนาจฝ่ายบริหาร และไม่มีการตรวจสอบของฝ่ายตุลาการ การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะต้องมีความจำเป็นและได้สัดส่วนกับสถานการณ์ แต่กรณีที่เกิดขึ้นไม่ได้มีความรุนแรง และรัฐสภาทำงานได้ปกติ แต่หลังจากนั้นรัฐบาลกลับประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นเรื่องเกินกว่าเหตุ