“อมรา” บ่น กก.สิทธิฯ ถูกโยงการเมือง เปรยไม่จำเป็นไม่ประกาศจุดยืนนิรโทษกรรม
นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ลูกชาย “สมยศ” นักโทษหมิ่นสถาบัน ทวงถามจุดยืนประธาน กสม.นิรโทษกรรมเสื้อแดง ด้านเจ้าตัวบ่นถูกดึงเป็นคู่ขัดแย้งการเมือง เปรยถ้าไม่จำเป็นคงไม่ทำ วอนเข้าใจไม่มีอำนาจปฏิบัติ แค่รายงานเสนอภาครัฐ
วันนี้ (1 ส.ค.) กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย นำโดย นายปณิธาน พฤกษาเกษมสุข นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บุตรชายของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักโทษคดีหมิ่นสถาบัน ได้เข้าพบนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อทวงถามจุดยืนของกรรมการสิทธิต่อการนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เข้ายื่นหนังสือดังกล่าวต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร
นางอมรา เปิดเผยว่า ในส่วนของกรรมการสิทธิฯมีการพูดคุยกันอยู่บ้าง และเห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องการเมืองไปแล้ว และกรรมการสิทธิฯกำลังจะถูกดึงเข้าไปเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง การจะมีความเห็นในเรื่องนี้จึงต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง ดังนั้นที่หวังจะให้กรรมการสิทธิมีแถลงการณ์ หรือประกาศจุดยืนคงไม่ทำ แต่ถ้าเห็นว่าสถานการณ์มีความจำเป็นก็จะมีการหารือกันของกรรมการสิทธิทั้ง 7 คนอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม อยากทำความเข้าใจว่าหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิฯ ไม่ใช่หน่วยปฏิบัติ แต่เป็นหน่วยงานที่ติดตามดูแลสถานการณ์ด้านสิทธิ เมื่อพบเห็นก็ทำรายงานและข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ซึ่งภาครัฐอาจจะนำไปปฏิบัติหรือไม่ก็ได้
http://mgr.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000095022
นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ลูกชาย “สมยศ” นักโทษหมิ่นสถาบัน ทวงถามจุดยืนประธาน กสม.นิรโทษกรรมเสื้อแดง ด้านเจ้าตัวบ่นถูกดึงเป็นคู่ขัดแย้งการเมือง เปรยถ้าไม่จำเป็นคงไม่ทำ วอนเข้าใจไม่มีอำนาจปฏิบัติ แค่รายงานเสนอภาครัฐ
วันนี้ (1 ส.ค.) กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย นำโดย นายปณิธาน พฤกษาเกษมสุข นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บุตรชายของนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักโทษคดีหมิ่นสถาบัน ได้เข้าพบนางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อทวงถามจุดยืนของกรรมการสิทธิต่อการนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เข้ายื่นหนังสือดังกล่าวต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร
นางอมรา เปิดเผยว่า ในส่วนของกรรมการสิทธิฯมีการพูดคุยกันอยู่บ้าง และเห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องการเมืองไปแล้ว และกรรมการสิทธิฯกำลังจะถูกดึงเข้าไปเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง การจะมีความเห็นในเรื่องนี้จึงต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง ดังนั้นที่หวังจะให้กรรมการสิทธิมีแถลงการณ์ หรือประกาศจุดยืนคงไม่ทำ แต่ถ้าเห็นว่าสถานการณ์มีความจำเป็นก็จะมีการหารือกันของกรรมการสิทธิทั้ง 7 คนอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม อยากทำความเข้าใจว่าหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิฯ ไม่ใช่หน่วยปฏิบัติ แต่เป็นหน่วยงานที่ติดตามดูแลสถานการณ์ด้านสิทธิ เมื่อพบเห็นก็ทำรายงานและข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ซึ่งภาครัฐอาจจะนำไปปฏิบัติหรือไม่ก็ได้
http://mgr.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000095022
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น