วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แถลงการณ์ กสม. เรียกร้องทุกฝ่ายยุติความรุนแรง หยุดการเผชิญหน้าในวันที่ 2 ก.พ



แถลงการณ์ กสม. เรียกร้องทุกฝ่ายยุติความรุนแรง หยุดการเผชิญหน้าในวันที่ 2 ก.พ.

สืบเนื่องมาจากการชุมนุมทางการเมืองของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) ที่ผ่านมา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้เฝ้าติดตามสถานการณ์มาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมสังเกตการณ์การชุมนุมในสถานที่ต่างๆ โดยยึดหลักความเป็นกลาง อิสระ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทุกฝ่าย ไม่เลือกปฏิบัติ และเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยึดแนวทางสันติในการแก้ปัญหา เคารพสิทธิซึ่งกันและกันมาโดยตลอด

จากการประชุมร่วมระหว่างองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ คณะรัฐมนตรี โดยนายกรัฐมนตรีและคณะกรรมการการเลือกตั้ง โดยประธานกรรมการการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2557 เพื่อหารือการดำเนินการเลือกตั้ง ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามข้อวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ผลการปรึกษาหารือร่วมกันดังกล่าว มีข้อสรุปว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปที่กำหนดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ยังคงยืนยันตามพระราชกฤษฎีกาฯ ที่กำหนดไว้เดิม

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทราบและเข้าใจสาเหตุการรวมกลุ่มชุมนุมและข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมที่เกิดขึ้นเรื่อยมา นับตั้งแต่การคัดค้าน พ.ร.บ. นิรโทษกรรม จนกระทั่งการประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน การคัดค้านการเลือกตั้งล่วงหน้า โดยกลุ่มผู้ชุมนุมให้เหตุผลว่ารัฐบาลขาดความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ซึ่งเป็นไปตามหลักของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ยอมรับว่าหากรัฐภาคีใด ไม่เคารพต่อสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรมแล้ว ประชาชนของรัฐภาคีนั้น ย่อมสามารถพึ่งวิถีทางสุดท้าย คือ การลุกขึ้นต่อต้านความอยุติธรรม อย่างไรก็ตาม การที่กลุ่มผู้ชุมนุมได้ขัดขวางประชาชนจนไม่สามารถไปทำหน้าที่ใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าได้ รวมถึงการประกาศให้มีการคัดค้านหรืออาจมีการกระทำที่เป็นการขัดขวางมิให้มีการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนแก่ทุกฝ่ายเกี่ยวกับการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม และการใช้อำนาจของรัฐเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงมีข้อห่วงใยและข้อกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง กรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 และขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนคำนึงและสมควรดำเนินการตามข้อที่ควรปฏิบัติ ดังนี้

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อมรา ออกไปได้แล้ว


อ๋อ! ที่แท้มันเป็นสัตว์สปี่ชี่เดียวกันนี่เอง

คนประเภทเดียวกัน มักอยู่รวมกัน


คุณสมบัติของการเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของคนเรา ไม่ได้มาจากการปลูกฝังเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมที่เติบโตมาหรือการศึกษาเท่านั้น แต่ยังซ่อนเร้นอยู่ในรหัสพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอในยีนของคนเราด้วย เบื้องหลังของกลุ่มเพื่อนที่ขำมุขตลกเดียวกัน ชอบฟังเพลงหรืออ่านหนังสือแนวเดียวกันชอบไปเที่ยวในที่แบบเดียวกัน ที่แท้แล้วมีลักษณะยีนคล้ายกัน

ศ.นิโคลาส คริสตากิส นักวิจัยอเมริกัน เสนอผลงานชิ้นนี้ไว้ในวารสารไซแอนซ์ ระบุว่า ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจสำหรับคำอธิบายเรื่องนี้ คนกลุ่มที่ไม่ชอบดื่มแอลกอฮอล์ แน่นอนว่าย่อมหลีกเลี่ยงสถานที่ มีแอลกอฮอล์เหมือนๆ กัน คนที่มีพันธุกรรมคล้ายๆ กับเราย่อมมีความสนใจคล้ายๆ กับเราและทำให้มาพบและสนิทกันได้ง่าย เช่น เพื่อนสนิทที่ได้จากชมรมกีฬาในมหาวิทยาลัยที่เราจะพบคนคอเดียวกัน

พออยู่ในวัยผู้ใหญ่ คนพวกนี้ก็จะสนใจการงานอาชีพคล้ายกัน สังคมเดียวกัน ทัศนคติและวิสัยทัศน์ เหมือนกันหากใครไม่ใช่คนประเภทเดียวกัน ก็มักจะต้องแยกย้ายตัวเองออกไปจากกลุ่มนั้นในไม่ช้า เพราะว่าอยู่ไม่ได้ หรืออยู่ได้ก็ไม่มีความสุข



โกสินธ์ พิบูลสราวุธ อิอิ...คนหนึ่ง เด็กดื้อ อีกคนหนึ่งทั้งแก่และด้าน....

กลับไปหน้าแรก

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อ.อมรา เเห่ง กสม. มีลูกศิษย์ คิดล้างครูครับท่าน

อ คนนี้เลว สุดๆ
สังเกตตั้งแต่สมัย สอนจุฬาแล้ว
ไม่มีคุณธรรม ไม่มีความเป็นกลาง

สงสัยเป็น ยุวชน ประชาธิปัตย์ สมัยก่อนโน้น
ดีไม่ดี คุณพ่อ เป็นพรรคพวกกับนาย ควง นายเสนีย์  อะไรทำนองนั้น

ญาติผมมีอย่างนี้คนหนึ่ง




วิทยา นันทนพจน์ 
อ.อมรา เคยสอนที่จุฬาและมีการถากถางลูกสาวท่านทักษิณตอนที่เรียนที่จุฬาประมาณปี 2548-2549 ถ้าจำปีผิดขออภัยด้วย. ผมเคยบอกว่าอ.อมรามีความเป็นครูแบบไหนครับ? แบ่งแยกออกระหว่างหน้าที่กับความรู้สึกส่วนตัวหรือไม่? ถ้ากลับกันลูกของท่านเจอแบบลูกท่านทักษิณท่านจะรู้สึกอย่างไร? เมื่อท่านมาเป็นกรรมการสิทธิก็ยิ่งทำตัวชัดเจนยิ่งขึ้นที่จะเลือกฝ่ายอย่างชัดเจน. การเลือกฝ่ายไม่ผิดถ้าท่านไม่ใช่กรรมการสิทธิ คือถ้าท่านออกมาเป็นประชาชนที่ไม่มีหัวโขนแล้วท่านสามารถเป็นตัวของตัวเองเต็มที่เลย. การที่เป็นข้าราชการท่านก็กินเงินเดือนจากภาษีของคนที่ท่านเกลียดเช่นกัน. คนเสื้อแดงมีอยู่ทั่วประเทศคนรักท่านทักษิณมีเกินครึ่งประเทศ.

อาจารย์อมราครับท่านคิดให้ดีครับวางหัวโขนลงให้หมดแล้วตั้งสติคิดว่าที่ท่านทำกับลูกศิษย์ลูกท่านทักษิณถึงแม้คนส่วนใหญ่จะลืมไปแล้วแต่บาปของอาจารย์มันติดในใจของอาจารย์. เสียชื่อสถาบันที่ท่านสอนด้วย. ถ้าผมเป็นอาจารย์ผมจะลาออกและไปอยู่ในที่ๆเขาไม่รู้จักเราและทำบุญล้างบาปตลอดชีวิตเลย. คนอย่างอาจารย์คงไม่กล้าหรอกครับที่จะทิ้งหัวโขนที่เขาให้. คนแบบอาจารย์มีอีกเยอะครับ. ผมให้อภัยแต่ผมจะไม่ยอมรับตลอดชีวิต. เพราะคนพวกท่านไม่น่าเคารพน่าประจานที่สุด

ไม่แน่จัยว่าคนที่ทำงานให้สิทธิมนุษยชนได้ศึกษาหรือเรียนรู้ด้านสิทธิมนุษยชนจริงรึหรือป่าว ถึงได้ไม่รู้เรื่องสิทธิมนุษยชนเลย ไม่มีการปกป้องประชาชนเลย มองดูกรรมการสิทธิมนุษยชนของประเทศอื่นๆ ที่เขาทำงานสิ ว่าเขาช่วยประชาชน

ทำงานอย่างนี้เปลืองภาษี ปชช. ออกไปเลยปะ

.
อ่านต่อที่นี่ค่ะ

ข้าพเจ้าขอปฏิเสธการเสนอชื่อตนในการรับรางวัลฯ






















เรียน ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคณะกรรมการ
เรื่อง ขอปฏิเสธการเสนอชื่อตนในการรับรางวัลฯ และข้อเสนอบางประการ

อันเนื่องจากมีนักสิทธิมนุษยชนในองค์กรฯของท่านได้แจ้งให้ข้าพเจ้าทราบว่า อาจารย์ อมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และคุณวิสา คณะกรรมการสิทธิฯได้มีกะใจเสนอชื่อให้ข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในผู้ได้รับรางวัลสิทธิมนุษยชน ในประเภทเด็กและเยาวชน จากงานของสมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทยซึ่งต่อสู้เรื่องสิทธิมนุษยชนในโรงเรียน ในประเด็นเรื่องทรงผม ข้าพเจ้ามีความปีติยินดียิ่ง และเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับเยาวชนคนหนึ่ง

หากข้าพเจ้าขอปฏิเสธการเสนอชื่อตนในการรับรางวัลฯ เพราะ ๑)ข้าพเจ้าไม่ถนัดในการส่งประวัติตนเองในการเสนอรางวัลใดๆ ๒)คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนชุดนี้มีสักกี่คนที่ทำงาน และสนใจประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างใจจริง กรณีเมษา-พฤษภา ๕๓ เป็นอย่างไร ดูแทบจะไม่ไยไพด้วยซ้ำ ทั้งๆที่เขาเหล่านั้นเป็นประชาชน ไม่ต้องเอ่ยถึงการละเมิดสิทธิเสรีภาพทางความคิดของฝ่ายรัฐได้สนใจบ้างหรือไม่ ๓)ข้าพเจ้าในนามสมาพันธ์นักเรียนฯได้เคยส่งจดหมายรายงานเรื่องสิทธิมนุษยชนในโรงเรียนไปยังแก่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แต่ทางคณะกรรมการฯมิได้ตอบกลับ แล้วข้าพเจ้าจะรู้ได้อย่างไรว่าทัศนคติขององค์กรนี้เป็นอย่างไร มีน้ำใสใจจริงเพียงไหนกัน

วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เปิดหัวหน้าคณะปฏิวัติตัวจริงบาปกรรมของใคร? ที่ใช้สนธิ


จาก REDPOWER ฉบับ 25 เดือน เมษายน 55
โดย กองบรรณาธิการ

พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ อดีตเลขาหัวหน้าคณะปฏิวัติ พลเอกฉลาด หิรัญศิริ ตั้งคำถามพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์เมื่อ 21มีนาคม 2555 จนพลเอกสนธิจนแต้มและตอบคำถามด้วยการไม่ตอบแต่หลังจากนั้นพลตรีสนั่นยังกล่าวตอกย้ำอีกเมื่อ 23 มีนาคม  2555 โดย กล่าวปราศรัยในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2555 ครั้งที่ ของพรรคฯ ที่โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า 

"ผมงง ว่าท่าน พล.อ.สนธิ (บุญยรัตกลิน) นักปฏิวัติ ห้ำหั่นกับอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร แต่วันนี้กลับมาปรองดอง โดยประเด็นสำคัญคือ เห็นด้วยกับการวิจัยที่จะยกเลิก คตส. ผมก็งง จึงตั้งคำถามไปยัง พล.อ.สนธิ เมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่าใครอยู่เบื้องหลังการปฏิวัติ เพื่อให้สังคมคลายความสงสัย ผมไม่ได้คิดร้ายกับท่านสนธิเลยส่วนคำถามผมก็ตอบง่ายๆ ว่า ใช่ หรือไม่ใช่ เพราะผมเชื่อว่าหากคนที่อยู่ในสถานการณ์ พูดความจริงแล้ว จะทำให้ความปรองดองเดินหน้า แต่คำถามนี้ท่านสนธิไม่ตอบ ไม่เป็นไร แต่ผมมองว่าถ้าปล่อยไปอย่างนี้ไม่เกิดความปรองดองจะเกิดวิกฤตที่รุนแรงกว่าเดิมแน่นอน...คณะรัฐประหารเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและมีภาพพลเอกเปรมนั้น ตนจึงถามว่าพลเอกเปรมพา คมช.เข้าเฝ้าฯหรือไม่หรือตามไปภายหลัง ตนจึงถามพลเอกสนธิตรงนี้ มันเป็นเรื่องสำคัญเพราะประชาชนอยากรู้ แต่เป็นสิ่งที่พลเอกสนธิไม่ตอบ"
ข่าวคำถาม  ตอบ ระหว่างพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ กับ พลเอกสนธิ          บุญยรัตกลิน ได้กลายเป็นข่าวใหญ่ระดับโลก
          ทำไมโลกจึงสนใจการรัฐประหารของไทยเมื่อ 19 กันยายน 2549 ทั้งๆที่ประเทศไทยผ่านการทำรัฐประหารมามากกว่า 20 ครั้งแล้วในรอบ 80 ปี ?
          เพราะการรัฐประหาร 19 กันยา มีลักษณะพิเศษที่จะบอกการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างสังคมการเมืองไทยครั้งใหญ่ด้วยปรากฏการณ์ดังนี้
1.เป็นการรัฐประหารครั้งแรกที่มีความพัวพันกับผู้ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวของตัวพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรี เริ่มจากการเดินสายปราศรัยกับนักเรียนนายร้อยทั้ง 3 เหล่าทัพ และด้วยวลีที่บ่งบอกความหมายการเปิดไฟเขียวให้กระทำการรัฐประหารได้ด้วยคำว่า ม้าไม่ใช่ของจ๊อกกี๊ จ๊อกกี๊ไม่ใช่เจ้าของม้า รวมทั้งการปรากฏภาพพลเอกเปรมร่วมกับผู้นำเหล่าทัพในฐานะแกนนำคณะรัฐประหารที่เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในกลางดึกของคืนวันทำการรัฐประหารและเมื่อกระทำการรัฐประหารแล้วบรรดานายทหารทั้ง 3 เหล่าทัพและข้าราชการสายลูกป๋าเกือบทั้งหมดก็เข้าไปอยู่ในตำแหน่งทางการเมืองต่างๆตั้งแต่คนเทกระโถนจนถึงลูกป๋าที่ใกล้ชิดคือ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี , ลูกป๋าอย่างนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ขึ้นเป็นประธานสภานิติบัญญัติ และนายประสงค์ สุ่นศิริ เป็นประธานคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ


2.เป็นการรัฐประหารครั้งแรกที่ดึงกลไกและบุคลากรของระบบตุลาการมาใช้งานทั้งระบบโดยเข้าไปอยู่ในกลไกอำนาจตั้งแต่เป็นผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญเข้าไปเป็นคณะกรรมการในองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ และทำการตัดสินลงโทษ       พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และบรรดานักการเมืองและประชาชนนักเคลื่อนไหวทางการเมืองฝ่ายเสื้อแดงที่แตกต่างกับการเคลื่อนไหวและการกระทำการที่ผิดกฎหมายของฝ่ายเสื้อเหลืองอย่างแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดนับตั้งแต่การขอประกันตัวจนถึงการตัดสินลงโทษทั้งยุบพรรคและตัดสิทธินักการเมือง จนมีที่มาแห่งคำว่า ตุลาการภิวัฒน์ และสองมาตรฐาน เป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์การเมืองไทย


 
3.เป็นการรัฐประหารครั้งแรกที่ใช้กลไกของระบบพรรคการเมือง  สื่อมวลชน และ ระบบราชการทั้งระบบเข้ามาขับเคลื่อนเพื่อทำลายทักษิณและประชาชนที่ผู้ทำการยึดอำนาจประณามใส่ร้ายว่าเป็นผู้ไม่จงรักภักดีและเป็นศัตรูต่อราชบัลลังก์

4.เป็นการรัฐประหารครั้งแรกที่ลงทุนสูงที่สุดเพื่อรักษาอำนาจและเป้าหมายของผู้กระทำการรัฐประหารที่กระทำอย่างยืดเยื้อยาวนานตั้งแต่ 19 กันยายน 2549 จนถึงปัจจุบัน ด้วยการยึดสนามบิน ยึดทำเนียบรัฐบาล และการเข่นฆ่าประชาชนอย่างโหดร้าย ในกรณีสังหารหมู่ประชาชนจากผ่านฟ้าถึงราชประสงค์และยังไม่มีแนวโน้มว่าจะจบสิ้นลงเมื่อไร
ดังนั้นข่าวคำถาม  ตอบ ของเสธ.หนั่นและบิ๊กบัง ด้วยถ้อยคำที่มีความหมายอย่างมีเงื่อนงำถึงตัวบุคคลผู้อยู่เบื้องหลังการสั่งการให้พลเอกสนธิ ทำการรัฐประหารทำให้พลเอกเปรม ดิ้นไม่หลุดจากตรรกะทางการเมืองของการทำอาชญากรรมทางการเมืองจนส่งผลให้บ้านเมืองเสียหายอย่างยิ่ง และเกิดความแตกแยกกันอย่างยิ่งอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลย
ว่ากันตามความเป็นจริงแล้วมีผู้เขียนบทความแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากมายในรอบ 5 ปีกว่าที่ผ่านมานี้  โดยสร้างระบบเหตุผลจากการต่อเชื่อมปรากฏการณ์ทางการเมืองจากหลายรูปธรรมจนเชื่อได้อย่างมีเหตุผลแล้วว่า พลเอกสนธิ มิใช่หัวหน้าคณะปฏิวัติตัวจริง และรู้อย่างปราศจากข้อสงสัยด้วยระบบเหตุผลแล้วว่า ใครคือหัวหน้าคณะรัฐประหารตัวจริงเพียงแต่คำสารภาพจากพยานบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์เท่านั้นที่ยังไม่ยอมออกมาพูดก็พอดีพลเอกสนธิได้ตอบคำถามชนิดตอบสดและขาดการตระเตรียม ด้วยการยิงตรงคำถามของเสธ.หนั่น ที่กระทำการตระเตรียมคำถามมาจากบ้านด้วยเป้าหมายทางการเมืองที่แอบแฝงทุกอย่างที่สงสัยและติดตามวิเคราะห์กันมาตลอด 5 ปีเศษผู้ฟังอย่างเราจึงถึงบางอ้อ 
Red Power ก็เป็นหนึ่งในผู้สนใจและติดตามแสวงหารูปธรรมเพื่อหาคำตอบมาโดยตลอดและวันนี้ก็เป็นความภาคภูมิใจของหนังสือพิมพ์ฉบับเล็กๆที่รู้ความจริงจากการวิเคราะห์ก่อนที่ พลเอกสนธิ จะสารภาพ ปรากฏหลักฐานจากบทวิเคราะห์ของกองบรรณาธิการฉบับครบรอบ 5 ปี การรัฐประหาร ด้วยพาดหัวหน้าปกว่า 5 ปี การรัฐประหาร ปัญหามิใช่อยู่ที่ทักษิณ แต่อยู่ที่...........?” (แฟนคลับคอการเมืองไปหาซื้อย้อนหลังได้จากท้องตลาดมืด ฉบับลงวันที่ 20 ประจำเดือน ตุลาคม 2554)


ฉบับนี้ยังมีบทความจากผู้ใช้นามปากกาว่านายทหารเอกกรุงธน ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์และนักเขียนประจำ Red Power ที่ตีพิมพ์ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์              Thai E-newsเรื่อง เสียงครวญสดศรี ชี้บอกว่า ตุลาการวิบัติ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ก่อนที่พลเอกสนธิ จะสารภาพ และเพื่อความสะดวก กองบรรณาธิการจึงคัดมาตีพิมพ์ใน Red Power ฉบับนี้ด้วย

การออกมาให้สัมภาษณ์แก้ตัวของบรรดาลูกป๋าและอดีตลูกป๋าเช่น              พลเอกสพรั่ง กัลยาณมิตร พลเอกบัญชร ชวาลศิลป์ และอีกมากมายนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นการตอกย้ำความจริงด้วยถ้อยคำปฏิเสธที่ไร้น้ำหนักแห่งเหตุผลทั้งสิ้น ซึ่งแทนที่จะเป็นผลประโยชน์ต่อพลเอกเปรมกลับส่งผลในทางตรงกันข้าม

วันนี้สำหรับพลเอกเปรมในวัยเกินกว่า 90 ปี และกำลังย่างเข้าหลัก 100 นี้ไม่มีอะไรดีไปกว่าการเข้าสู่หลักธรรมคำสอนของท่านพุทธทาสเพื่อเข้าสู่นิพพานโดยง่ายด้วยคำว่า ตายก่อนตาย เสียเถิด

กรณีรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นเวรกรรมของผู้ใช้พลเอกสนธิเองโดยไม่รู้ว่านายทหารผู้นี้มีความสับสนในระบบคิดเกี่ยวกับความจงรักภักดีต่อราชบัลลังก์อย่างยิ่ง

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล จี้ยุบองค์กรอิสระผลพวงจากรธน.ปี50

กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล จี้ยุบองค์กรอิสระผลพวงจากรธน.ปี50
อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ชี้ จำเป็นต้องยุบ กสม.และองค์กรอิสระที่มาจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ชี้เป็นต้นเหตุทำให้เกิดปัญหาต่อประเทศ เนื่องจากถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายที่กระทำผิด ...
วันที่ 11 ส.ค.กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล นำโดยนางสาวสุดา รังกุพันธ์ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายไม้หนึ่ง ก.กุนที จัดเสวนาบาทวิถีในหัวข้อ "ยุบเลิกคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนที่มาจาก คมช." โดยมีนายจรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน เป็นวิทยากร
โดยนายจรัล กล่าวว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนในปัจจุบัน มาจากรัฐธรรมมนูญปี 2550 ที่มาจากคณะรัฐประหาร ซึ่งใช้วิธีการสรรหาจากรัฐสภา ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และคณะกรรมการสิทธิฯ ส่วนใหญ่ที่ถูกรับเลือกเข้ามามีจุดยืนที่คัดค้านต่อต้านรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีจุดยืนเข้าข้างกลุ่มพันธมิตร และรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

ทั้งนี้จะเห็นได้จากที่การชุมนุมของคนเสื้อแดงตั้งแต่เดือนเมษายน-พฤษภาคม ปี 2553 ที่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก แต่คณะกรรมการสิทธิฯ กลับเขียนรายงานเข้าข้างเจ้าหน้าที่รัฐ และรัฐบาลว่าใช้อำนาจเป็นไปในทางที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่กลับเขียนรายงานว่าร้ายผู้ชุมนุมว่า การที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำการ เนื่องจากกลุ่มผู้ชุมนุมมีการปลุกปั่นยั่วยุ หน้ำซ้ำอ้างว่ามีชายชุดดำเป็นผู้กระทำ ซึ่งการเขียนรายงานดังกล่าวส่งผลให้ฝ่ายตรงข้ามนำไปอ้างความชอบธรรมให้แก่ตัวเอง ทั้งที่ในความเป็นจริงประชาชนถูกปราบปรามเกินกว่าเหตุ


อดีตคณะกรรมสิทธิมนุษยชน กล่าวด้วยว่า ไม่ใช่เพียงแค่คณะกรรมการสิทธิฯเท่านั้นที่สมควรจะให้มีการยกเลิก แต่ยังรวมไปถึงองค์กรอิสระต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญ 2550 เนื่องจากส่วนใหญ่มีพฤติการณ์เหมือนเข้าข้างฝ่ายที่กระทำผิด พร้อมจะเล่นงานและจัดการรัฐบาลฝ่ายตรงข้ามที่มาจากการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง และพร้อมจะขยายอำนาจไปในทางที่ผิด ดังนั้น หากองค์กรอิสระเหล่านี้ยังคงอยู่ก็จะยิ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อหลักต่างๆ ของบ้านเมือง รวมไปถึงยังไม่เป็นประโยชน์ต่อการปกครอง การบริหาร เพราะจะถูกนำไปเป็นเครื่องมือของฝ่ายที่ไม่ถูกต้อง

นอกจากนี้ นายจรัล ยังกล่าวอีกว่า ปัญหาสำคัญในการยุบองค์กรอิสระต่างๆ เป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจาก องค์กรอิสระเหล่านี้มาจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งวิธีที่จะทำได้คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จำเป็นที่ประชาช
นทุกคนจะต้องต่อสู้ต่อไปเพื่อให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นของประชาชนอย่างแท้จริง.

11.45(วันที่ 14 สิงหาคม 2556) กลุ่มเสื้อแดง หน้าสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) พร้อมเรียกร้องให้คณะกรรมการ กสม. ทบทวนตัวเองด้วยการลาออก กรณีรายงานข้อเท็จจริงการชุมนุมของนปช.ปี53 ชี้บิดเบือนข้อเท็จจริงอุ้มรัฐบาล “อภิสิทธิ์” ประชด แนบใบลาออกพร้อมใบสมัครสมาชิกพรรคปชป.มาให้ด้วย